Immersive solutions for AEC

อ้างอิง จาก https://construction.autodesk.com.au/workflows/

ในโครงการหรืองานก่อสร้างในปัจจุบัน เทคโนโลยี BIM ได้เข้ามามีส่วนช่วยในงานก่อสร้าง ซึ่งจริง ๆ แล้ว BIM ชื่อเต็ม ๆ คือ Building Information Modeling เรียกอีกอย่างว่า แบบจำลองสารสนเทศอาคาร ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการทำงานที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่การออกแบบ วางแบบ ก่อสร้าง ไปจนถึงการจัดการงานอาคารในการดูแลรักษาหลังสร้างเสร็จ (Facility Management) เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันในการทำงาน ตั้งแต่เจ้าของโครงการหรือ owner, ผู้พัฒนาโครงการ หรือ Developer, สถาปนิก, วิศวกร รวมถึงผู้รับเหมา โดยจะมีหลายโปรแกรมที่เข้ามาช่วย ทางเราที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจึงได้นำ Immersive Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการแสดงภาพในรูปแบบ 3 มิติที่ทางบริษัทมี มารวบรวมเป็น Solutions ไว้ให้เข้าใจง่าย ทั้งจากการเก็บข้อมูลอาคารเก่าหรือที่มีอยู่ก่อน มาวางแผนในการก่อสร้าง รวมทั้งที่สร้างไปแล้วต้องการข้อมูลในแบบจำลองอาคารที่ถูกต้องทั้งหมด เพื่อง่ายต่อการวางแผนจัดการดูแลอาคารต่อไป

ขั้นตอนที่เราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้คือ

As Built Exist Model

การเก็บข้อมูลอาคารเก่า หรือ พื้นที่เปล่า เพื่อทำการปรับปรุงหรือเตรียมวางแผนในการสร้างใหม่ ในขั้นตอนนี้โดยทั่วไปเราจะทำการสำรวจด้วยการถ่ายรูป สแกนภาพเก็บข้อมูลด้วยการวัดจากกล้อง total station หรือตลับเมตร ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถช่วยลดความผิดพลาดหรือการเก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน คือเทคโนโลยีกล้อง 3D Laser Scan Faro Focus ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลงานอาคาร ข้อดีที่เห็นได้ชัดเลย คือ ตาเราเห็นอย่างไรกล้องเก็บได้แบบนั้น อีกทั้งความแม่นยำระดับ +/- 3 มิลลิเมตร โดยข้อมูลที่ได้จะอยู่ในรูปแบบ Point Cloud ซึ่งการนำ Point Cloud ไปใช้งานต่อจะต้องทำการ process file สำหรับรวมไฟล์ที่ได้สแกนมา ผ่านโปรแกรม Faro Scene จากนั้นนำ point cloud ที่ได้เพื่อให้นำเข้าไปใช้ต่อในโปรแกรมออกแบบอื่น ๆ หรือจะนำ Point Cloud ที่ได้ไปใช้ต่อเลย

Design

ในส่วนของการออกแบบนั้น Point cloud ที่ได้ เราสามารถนำมาเป็นแบบอ้างอิงหรือ Reference ในการออกแบบต่อได้ ตัวอย่างเช่น

โปรแกรม SketchUp ในเวอร์ชั่น SketchUp Studio สามารถนำ Point Cloud เข้ามาผ่าน Extension ชื่อ Scan Essential สำหรับวาง Point Cloud ในการเขียนแบบต่อ โดย Point Cloud จะต้องเป็นนามสกุล e57 ซึ่ง Faro Scene สามารถ Export ออกมาทำงานร่วมกันได้

มาดูในส่วนของการทำงานกับโปรแกรมในค่าย Autodesk กัน การนำ Point Cloud เข้ามาใช้งานต่อต้อง export ไฟล์มาเป็นนามสกุล RCP, RCS เพื่อให้รองรับการนำ Point Cloud เข้าโปรแกรม Autodesk Revit หรือ AutoCAD ได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถแก้ไขไฟล์ Point Cloud เบื้องต้น ในการลบหรือจัดกลุ่มด้วยโปรแกรม Autodesk Recap Pro

แต่ในการขึ้นแบบด้วย Point Cloud นั้นเสมือนกับการต้องออกแบบใหม่ด้วย ทาง Faro จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่เป็น Plugin ที่รองรับโปรแกรม Revit และ AutoCAD ในการช่วยการเขียนแบบ As Built เพื่อลดเวลาในการสร้างและออกแบบแก้ไขจาก Point Cloud ลดเวลานะครับประมาณ 50% ในการทำแบบ As Built มาใหม่

Immersive Review & Multiplayer (Metaverse)

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการ Design Review หรือตรวจสอบการออกแบบเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันของผู้ออกแบบและผู้สร้างหรือผู้ใช้งานต่อ โดยหลัก ๆ เราจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบจากก่อนหน้าคือ

การนำ Point Cloud เข้ามาตรง ๆ โดยไม่มีการปรับแก้ไขเพื่อพูดคุยกันในรูปแบบ VR โดยโปรแกรม Faro Scene รองรับการดูแบบ VR ข้อดี คือ ขนาดและมิติที่ได้จะเท่าของจริงทั้งหมด ข้อเสีย คือ เราจะเห็นภาพในรูปแบบจุด ๆ ซึ่งเอาตรง ๆ นะครับไม่สวยแต่ดูรู้เรื่อง วัดขนาดได้ ทำเป็น snap view ได้ ตรงนี้มีการนำไปใช้ในส่วนของงานนิติวิทยาศาสตร์ด้วยครับ แต่ถ้าเราอยากนำเข้ามาดูแบบหลาย ๆ คนหรือ Multiplayer ทางเรามีโปรแกรม Coordinate จาก VRCollab สามารถดูหลาย ๆ คนพร้อมกันผ่านแว่น VR หรือไม่ผ่านแว่นก็ได้ หรือดูแบบมุมมองบุคคลที่ 3 ที่ช่วยลดปัญหาจากการดูผ่าน แว่น VR

อีกรูปแบบคือการนำไฟล์ที่ได้ออกแบบหรือแกะแบบมาจาก Point Cloud ในช่วง Design ก่อนหน้า ข้อมูลที่เราได้จะเป็นไฟล์ในรูปแบบ 3 มิติอยู่แล้ว คราวนี้เราสามารถมาดูได้หลากหลายโปรแกรมมากมาย เช่น

โปรแกรม Enscape โปรแกรม Render ที่รองรับผ่านแว่น VR ได้ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งรองรับโปรแกรม Revit, SketchUp และรองรับการย้ายหรือแก้ไขโมเดลแบบ Realtime ที่ดูผ่านแว่นแล้วเห็นเลย อันนี้คุ้มจริง แต่ข้อเสียคือเครื่องที่ใช้ดูต้อง spec การ์ดจอแรงในระดับนึง คือ gForce 4070 ขึ้นไป

โปรแกรม Twinmotion อันนี้ใครใช้ Revit เวอร์ชัน 2024 จะมีมาให้ใช้ด้วยครับ อันนี้ของดีไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

แต่ถ้าใครอยากดูแบบหลาย ๆ คนหรือ Multiplayer โปรแกรม Coordinate จาก VRCollab ตอบโจทย์เลย

ในส่วนของแว่น MR หรือ HoloLens2 นั้น ทางเราได้มีการทำ platform ในเวอร์ชัน beta มาทดลองใช้กันนะครับ สำหรับการใช้งานแบบ Multiplayer

Field Review

หรือการตรวจสอบหน้างาน เป็นการนำแบบ 3 มิติ ที่ได้ออกแบบมาซ้อนทับอาคารจริงหรือพื้นที่จริง โดยรองรับการใช้งานแว่น MR หรือ HoloLens2 หรือใช้ Mobile Device หรือ iPad เพื่อตรวจสอบแบบก่อสร้างว่าตรงกับอาคารจริงหรือไม่ ซึ่งมีหลายโปรแกรม เช่น

            Trimble Connect MR ที่รองรับการนำแบบ 3 มิติ เข้าวางแบบกับพื้นที่จริง และรองรับการทำงานแบบ Multiplayer แบบ Colocation หรือ Remote ได้ด้วย วัดระยะเหลื่อมได้ สร้าง Todo ได้ (รองรับ HoloLens2 และ iPad)

            Dimension ของ VRCollab รองรับการใช้งานบน iPad ในการซ้อนทับพื้นที่จริงกับแบบเพื่อตรวจสอบ

            DataMesh Factverse รองรับการใช้งานบน iPad และ HoloLens2 ในการซ้อนกับพื้นที่และดูขั้นตอนการก่อสร้างได้ด้วย นอกจากนี้เพื่อแก้อีกหนึ่งปัญหาในวงการก่อสร้าง แว่น HoloLens2 ยังมีโปรแกรม Remote Assist ที่ทำให้ทีมที่อยู่ใน Office หรือสถานที่อื่นๆ ได้เห็นหน้างานไปพร้อมกัน หรือเอา 3D Model เข้า AR (mobile device, iPad) เพื่อตรวจหน้างานก็ได้เช่นกัน

หมวดหมู่Faro

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *